หนังสือสวดมนต์ข้ามปี

ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง พระอานนทเถรพุทธอุปัฏฐาก ได้กล่าวแสดงต่อคณะสงฆ์ในการทำ�สังคายนาครั้งที่ ๑ ว่าดังนี้ ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้ง อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ • ในกาลครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณา ตามพระดำ�รัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ • ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ • การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผู้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใช่ธรรมอันจะนำ�จิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลส เครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง • และอีกอย่างหนึ่ง คือการประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำ�บาก ซึ่งมีแต่ ทำ�ให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำ�จิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการ ปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติ ธรรมจนเกินกำ�ลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็วๆ) • ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่าง นั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง • ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำ�ดวงตาคือปัญญา ทำ�ญานเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อ ใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำ�ให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระ นิพพาน ฯ • ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำ�ดวงตาคือปัญญา ทำ�ญาน เครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไป จากจิตคือเข้าสู่พระนิพพานที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร? • ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำ�ไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่างฯ • ข้อปฏิบัติเหล่านี้ คือ • ปัญญาอันเห็นชอบ (คือเห็นอริยสัจ) • ความดำ�ริชอบ (คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยายาท ไม่คิดเบียดเบียน) • วาจาชอบ (ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำ�หยาบ ไม่พูดคำ�ส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล) • การงานชอบ (เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขา เป็นต้น และการทำ�งานที่ไม่มีโทษ) • การเลี้ยงชีวิตชอบ (หากินโดยไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี) • ความเพียรชอบ (เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำ�ใจ และ เพื่อให้ได้คุณธรรม สูงยิ่งๆ ขึ้นไป) • การระลึกชอบ (ระลึกนึกถึงอนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกใน มหาสติปัฏฐาน ๔) • การตั้งจิตไว้ชอบ (การทำ�สมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น) ฯ (หรือกล่าว โดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา) (๙)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzAxNDYz