พิธีบวงสรวง การตั้งศาลฯ และเกร็ดความรู้ในพิธีกรรมต่างๆ

พิธีบวงสรวง และเกร็ดความรู้ในพิธีกรรมต่างๆ ตามแนวคําสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน บายศรีใหญ่ บายศรีนี้ใช้บูชาตรงต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีตัวแม่ ๕ ตัว แต่ละตัวต้องมีตัวลูกอย่างน้อย ๙ ตัวขึ้นไป จะทํากี่ชั้นก็ได้ ที่เคยเห็นมาทํากันไม่เกิน ๙ ชั้น การทํา ๙ ชั้นนั้นใช้สําหรับราชพิธีใหญ่ สําหรับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน สามัญชนใช้ไม่เกิน ๕ ชั้น ฯ บายศรีสู่ขวัญ ใช้ตัวแม่ ๕ ตัว ส่วนตัวลูกนั้นใช้ไม่จํากัดจํานวน แล้วแต่ภาชนะที่ รองรับ ตรงกลางขันใส่ขนม นม เนย หมาก พลู บุหรี่ กล้วย อ้อย มะพร้าวอ่อน นิยมใช้ใน พิธีเรียกขวัญ หรือต่ออายุคนเจ็บป่วย ฯ บายศรีซ้ายขวา เหมือนบายศรีใหญ่ หรือบายศรีบูชาครู ใช้หนึ่งคู่ นิยมตั้งหน้า พระพุทธรูป บายศรีเทวฤทธิ์ เท่าที่เคยทํามา จะจัดทําตามเทวบัญชา ให้ทําใช้เฉพาะกิจเป็น คราวๆ ไป มีอยู่ครั้งหนึ่ง คุณสุภาภรณ์คิดจะทําใช้โดยพละการ เธอพับเท่าไรก็ทําไม่ได้ ด้วย ลืม และนึกเท่าไรก็นึกไม่ออก ทั้งๆ ที่เธอเป็นผู้หนึ่งที่มีฝีมือเยี่ยมมากในการเย็บบายศรี การทําบายศรีนั้น มีคณะศิษย์ของหลวงพ่อที่สนใจมาขอเรียน ผู้เขียนก็ครอบและสอน ให้ เมื่อทางวัดมีงาน พวกเราก็ช่วยทําตามความถนัดของแต่ละคน บ้างชอบใบตอง ก็ช่วยกัน ตัดเย็บตัวบายศรี ท่านที่ชอบดอกไม้ก็หันมาเอาดีทางแต่งองค์ทรงเครื่องบายศรี ต่างก็ช่วยกัน ด้วยความรักความสามัคคี บายศรีของวัดท่าซุงจึงปรากฏออกมาเป็นที่ประจักษ์แก่ท่านที่พบ เห็น บางคนทั้งชื่อและแบบก็แปลกออกไปจากตําราการทําบายศรี ซึ่งไม่มีปรากฏในตําราเล่ม ใดมาก่อนเลย. (นิรนาม ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๗) ๗๘

RkJQdWJsaXNoZXIy NzAxNDYz