พิธีบวงสรวง การตั้งศาลฯ และเกร็ดความรู้ในพิธีกรรมต่างๆ

พิธีบวงสรวง และเกร็ดความรู้ในพิธีกรรมต่างๆ ตามแนวคําสอนของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน รับทราบจากหลวงพ่อแล้ว กลับถึงบ้านก็ตรงรี่เข้าหาต้นกล้วยตัดใบตอง นึกถึงบายศรี และอาราธนาบารมีของท่านย่า แล้วฉีกใบตองลองหัดพับดู เพื่อจะได้ใช้ในงานครั้งนี้ แต่นึก สงสัยว่าส่วนปีกจะพับแบบไหนถึงจะเหมือนอย่างที่เห็นในนิมิต ไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นไปแล้ว พอพับครั้งเดียวได้ที่และใช้ได้เลย เมื่อถึงวันงานบายศรี เทวฤทธิ์ถึงได้ออกงาน ใช้ในพิธีบวงสรวงเป็นครั้งแรก หลังจากเสร็จพิธี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนิมนต์ให้หลวงพ่ออยู่ต่ออีก ๓ วัน เพื่อเยี่ยมปลอบขวัญและแจกวัตถุมงคลแก่ทหารตํารวจตระเวนชายแดน พระองค์ทรงโปรดให้ หลวงพ่อและคณะเข้าพักในเขตพระราชฐาน(ทักษิณพระราชนิเวศน์) และทรงโปรดให้ห้อง เครื่องจัดอาหารเช้าเพลถวายหลวงพ่อ และให้คณะผู้ติดตามด้วย วันเดินทางกลับยังจัด อาหารใส่กล่องให้เป็นเสบียงระหว่างทางอีกด้วย ทําให้พวกเราทุกคนปลาบปลื้มในพระมหา กรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ตราบเท่าทุกวันนี้ ต่อมาหลวงพ่อสอนมโนมยิทธิให้ เมื่อฝึกได้แล้วจึงใช้วิชานี้ให้เกิดคุณประโยชน์อย่าง มหาศาล ใช้ในทุกโอกาสที่ต้องการตามความจําเป็น เช่น ก่อนลงมือทําบายศรีก็กราบระลึก ถึงครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนมา และขึ้นไปกราบท่านย่าถึงที่ของท่าน วันหนึ่ง ท่านให้ขึ้นไปข้างบน (หมายถึงพระนิพพาน) เข้าไปกราบนมัสการสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พอน้อมกราบระลึกถึงครูอาจารย์ที่ท่านสอนให้ทําบานศรีสืบๆ กันมา ปรากฏว่า ท่านมากันมากจริงๆ จึงพลอยได้ทราบว่า พิธีบวงสรวงนั้นมิใช่เพิ่งจะมีใน สมัยนี้เท่านั้น มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมแล้ว และพิธีบวงสรวงก็สืบ ทอดมาทุกๆ พระองค์ จนตราบเท่าปัจจุบันนี้ ฯ บายศรีแบบต่างๆ บายศรีปากชาม มีตัวยืนอยู่ ๓ ตัว ตัดใบตองเป็นแมงดา ๓ ตัว ไข่ต้ม ๑ ฟอง ข้าวสุกปากหม้อ ตัวยืนคือตัวแม่ ส่วนตัวลูกจะใช้ ๕, ๗, ๙ ก็ได้ นิยมใช้ในพิธีเชิญพระภูมิ เจ้าที่ขึ้นศาล หรือใช้ในพิธีบวงสรวงพิเศษ ที่พวกเราเรียกชุดใหญ่ ต้องมีบายศรีปากชาม ๔ ทิศ เพื่อสักการะท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ และบายศรีใหญ่ตั้งตรงกลาง เพื่อบูชาคุณองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บายศรีไหว้ครู หรือบูชาครู ทํากันหลายแบบ แล้วแต่วาระความสําคัญ จะทําเล็ก ใหญ่กี่ชั้นก็ได้ ที่เห็นมาไม่เกิน ๓ ชั้น แต่ละชั้นต้องมีตัวแม่ชั้นละ ๕ ตัว ๗๗

RkJQdWJsaXNoZXIy NzAxNDYz